วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารผ่านดาวเทียม


การสื่อสารผ่านดาวเทียม
หลักการของดาวเทียมมาจากหลักการของฟิสิกส์หรือกฎของเคปเลอร์ที่ว่า คาบของดาวที่โคจรอยู่รอบโลกจะแปรตามยกกำลัง 3/2 ของรัศมี ดาวที่ใกล้โลกมากจะมีคาบประมาณ 90 นาที แต่ไม่มีประโยชน์ที่ว่าจะนำมาทำดาวเทียมเพราะว่า เมื่อมองจากพื้นดินจะเห็นดาวเทียมเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ที่ระยะประมาณ 36000 Km เหนือเส้นศูนย์สูตร คาบของดาวเทียมจะเป็น 24 ชั่วโมงทำให้เสมือนอยู่นิ่งเมื่อมองจากพื้นโลกตลอดเวลา
บนท้องฟ้าดาวเทียมจะอยู่ห่างกันประมาณ 4 องศาตามมุม 360 องศาของเส้นศูนย์สูตร ถ้าหากดาวเทียมอยู่ใกล้มากกว่านี้จะทำให้สัญญาณที่ขึ้นมาจากพื้นดินรบกวนดาวเทียมตัวข้าง ๆ ที่อยู่ถัดไปด้วย ฉะนั้นถ้าคิดง่าย ๆ จำนวนดาวเทียมที่มีอยู่ได้รอบโลกจะเท่ากับ 360/4 = 90 ดวงเท่านั้น และถ้าหากเป็นดาวเทียมสำหรับทีวีด้วยแล้วละก็จะต้องห่างกันถึง 8 องศา เนื่องจากกำลังส่งจะสูงกว่าดาวเทียมธรรมดา อย่างไรก็ตามดาวเทียมแต่ละดวงสามารถใช้ความถี่คนละย่านทำให้สามารถส่งข้อมูลหลาย ๆ ชุด พร้อม ๆ กันได้
เพื่อเป็นการป้องกันการแก่งแย่งความถี่และตำแหน่งบนท้องฟ้า จึงได้มีการกำหนดข้อตกลงระหว่างชาติขึ้นว่าใครบ้างที่จะได้ใช้ความถี่ใดและตำแหน่งใด ช่วงความถี่ 3.7-4.2 GHz และ 5.925-6.425 GHz ได้ถูกกำหนดสำหรับการสื่อสารดาวเทียม หรือมีการเรียกย่อ ๆ กันว่า 4/6 GHz หมายถึง ความถี่ขึ้นมีค่าอยู่ในช่วง 6 HGz และความถี่ลงอยู่ในช่วง 4 GHz อย่างไรก็ตามความถี่ช่วงนี้ก็หนาแน่นมากเพราะถูกใช้โดยไมโครเวฟของบริษัทสื่อสารอยู่แล้ว
ความถี่ช่วงที่สูงกว่านี้ก็คือ 12/14 GHz ทำให้ดาวเทียมสามารถวางอยู่ใกล้กันได้ถึง 1 องศา แต่มีปัญหาที่ตามมาก็คือ ความถี่ช่วงนี้ถูกลดทอนได้สูงด้วยฝนและพายุได้ง่าย ทางแก้ที่เป็นไปได้ก็คือตามหลักความจริงที่ว่าพายุหรือฝนมักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้าหากตั้งจานรับเอาไว้กระจายไปทั่ว ( และต่อถึงกันด้วยสายเคเบิล) เมื่อมีฝนที่ใดที่หนึ่ง ก็ใช้สถานีพื้นดินที่บริเวณอื่นที่ไม่มีฝนตกรับแทนได้
ดาวเทียมทั่วไปจะแบ่งแถบกว้างความถี่ขนาด 500 MHz ออกเป็นทรานส์ปอนด์เดอร์ แต่ละทรานส์ปอนด์เดอร์มีแถบกว้างความถี่ 36 MHz แต่ละทรานส์ปอนด์เดอร์อาจจะใช้ส่งข้อมูลขนาด 50 Mbps เพียงชุดเดียว หรือส่งขนาด 64 Kbps จำนวน 800 ชุดหรือจะรวมในลักษณะอื่นก็ได้ และแต่ละทรานส์หอนด์เดอร์สามารถใช้การส่งแบบคนละขั้วคลื่น ( polarize) ได้ทำให้ 2 ทรานส์ปอนด์เดอร์สามารถใช้ความถี่เดียวกันโดยไม่มีการรบกวนกันได้ ในดาวเทียมยุคแรก ๆ การแบ่งแถบกว้างความถี่ของทรานส์ปอนด์เดอร์ออกเป็นช่อง ๆ นั้นทำแบบตายตัว (static) ที่ความถี่เดียว แต่ในปัจจุบันช่องแต่ละช่องจะถูกแบ่งออกตามเวลา เช่นช่อแรกสำหรับสถานีแรก ช่องที่สองสำหรับสถานีที่สอง และต่อ ๆ ไป การทำแบบนี้ช่วยให้การจัดการอ่อนตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย มีชื่อเรียกว่า time-division multiplex
ดาวเทียมดวงแรกนั้นมีลำคลื่นจากอวกาศลำเดียวครอบคลุมสถานีพื้นดินทั้งหมด และเมื่อเวลาผ่านไปราคาของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ , ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ และขนาดได้ลดลง จนปัจจุบันสามารถที่จะใช้ทำให้ดาวเทียมมีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ละดาวเทียมอาจจุมีสายอากาศหลาย ๆ จานและมีทรานส์ปอนด์เดอร์หลาย ๆ ตัว แต่ละลำคลื่นที่ส่งลงมาสามารถที่จะเจาะจงลงไปยังบริเวณใด ๆ ที่ต้องการและสามารถใช้ลำคลื่นหลาย ๆ ลำขณะส่งขึ้นหรือส่งลงพร้อม ๆ กันได้ บริเวณที่ลำคลื่นเล็งไปนั้นเรียกว่า ลำคลื่นเป็นจุด ( spot beam) ซึ่งบริเวณที่เล็งอาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่ร้อยกิโลเมตรได้
การสื่อสารผ่านดาวเทียมมีคุณลักษณะหลายอย่างต่างจากการสื่อสารผ่านตัวกลางบนพื้นดิน เช่น การหน่วงของเวลา ( delay time) เนื่องจากระยะทาง โดยปกติสัญญาณจากดาวเทียมจะถูกหน่วงจากต้นทางถึงปลายทางประมาณ 250-300 มิลลิวินาที ( ถึงแม้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเดินทาง &"3652; ด้เร็วเท่ากับแสงหรือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาทีก็ตาม) ถ้าเทียบกับไมโครเวฟแล้วจะมีค่าเพียง 3 ไมโครวินาที/กิโลเมตร หรือถ้าเป็นโคแอกเชียลก็จะมีค่า 5 ไมโครวินที/กิโลเมตรเท่านั้น ( คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางในอากาศได้เร็วกว่าเดินทางในสายทองแดง)
แต่โดยอีกนัยหนึ่งถ้าคำนึงถึงแถบกว้างความถี่และอัตราการเกิดผิดพลาด ( error rate) ของข้อมูลด้วยแล้วการหน่วงเวลาของสัญญาณอาจจะไม่ใช่จุดสำคัญก็ได้ เช่น เวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล x กิโลไบท์ผ่านสายขนาดความเร็ว 9600 bps คือ x/19.6 วินาที แต่ถ้าส่งผ่านดาวเทียมที่มีความเร็วการส่งข้อมูล 5 Mbps แล้วจะใช้เวลา x/5000+0.270 วินาที (รวม 0.27 วินาทีสำหรับเวลาที่หน่วงในอากาศ) สำหรับข้อมูลมากกว่า 2.6 Kbps แล้วดาวเทียมจะเร็วกว่า และถ้าหากว่านับเวลาที่เสียไปเนื่องจากการส่งใหม่ (เมื่อมีการส่งข้อมูลผิดพลาด จะมีการส่งข้อมูลชุดนั้นมาใหม่ ทำให้เวลาที่ใช้ส่งข้อมูลจนครบเท่าที่ต้องการเพิ่มขึ้นไปด้วย) ดาวเทียมก็จะได้เปรียบมากกว่าเพราะว่าดาวเทียมมีอัตราส่งข้อมูลผิดพลาดต่ำกว่ามากนั่นเอง
นอกจากนั้นค่าเวลาที่หน่วงที่เสียไปไม่ขึ้นกับระยะทาง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่งที่อยู่คนละฟากของมหาสมุทรก็จะใช้เวลาเท่ากับส่งระหว่างที่อยู่ตรงข้ามถนน ทำให้การคิดราคาค่าส่งข้อมูลไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางไปด้วย
จุดอื่นที่ต่างกันอีกก็คือการสื่อสารผ่านสายเช่า สามารถส่งข้อมูลได้เร็วสุดเพียง 56 Kbps เท่านั้น (ถึงแม้ว่าจะมีสายขนาดความเร็ว 1.544 Mbps ให้ใช้ ถ้าหากว่าสามารถจ่ายค่าเช่าไหวให้ใช้ในบางพื้นที่ก็ตาม) แต่การส่งจากจานสายอากาศบนหลังคาไปยังอีกฝ่ายที่มีจานอากาศอยู่บนหลังคาผ่านดาวเทียมนั้น สามารถทำได้เร็วกว่าถึง 1000 เท่า และสำหรับการส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้วละก็การส่งข้อมูลปริมาณมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นเป็นที่ต้องการมากกว่าใช้เวลานาน ๆ เช่น การส่งข้อมูลในม้วนเทปผ่านสายโทรศัพท์ที่มีความเร็ว 56 Kbps ใช้เวลา 7 ชั่วโมง แต่ถ้าผ่านดาวเทียมจะใช้เวลา 30 วินาที เท่านั้น
คุณสมบัติที่น่าสนใจอีกอย่างของดาวเทียมก็คือว่าเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายไปทุกที่ (broadcast) ทุก ๆ สถานีพื้นดินที่อยู่ภายใต้รัศมีลำคลื่นสามารถที่จะรับสัญญาณได้หมด รวมทั้งสถานีเถื่อนด้วย และบริษัทสื่อสารเองก็ไม่มีทางรู้ด้วยดังนั้นจึงต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย
นอกจากใช้ดาวเทียมสำหรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ตรงไปยังบ้านได้ด้วย
หากจะเปรียบเทียบดาวเทียมกับเส้นใยแก้วแล้ว โดยหลักการณ์แล้วเส้นใยแก้วเพียงเส้นเดียวนั้นมีแถบกว้างความถี่มากกว่าดาวเทียมทั้งหลายที่ได้เคยส่งขึ้นไปทั้งหมด แต่แถบกว้างความถี่เหล่านี้ไม่สามารถไปถึงผู้ใช้งานรายย่อยได้โดยตรงปกติเส้นใยแก้วจะใช้สำหรับเป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมสายโทรศัพท์ที่ทางไกลเข้าหากันผู้ใช้งานไม่สามารถใช้ประโยชน์ของแถบกว้างความถี่ที่มากมาย ๆ ของเส้นใยแก้วได้อย่างเต็มที่ เพราะถ้าหากส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ ความเร็วสูงสุดก็จะได้เพียง 9600 bps เท่านั้นไม่ว่าสายที่ส่งระหว่างชุมสายจะมีความเร็วเท่าใดก็ตาม ต่างกับการผ่านดาวเทียมซึ่งสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีการวางเครือข่ายเส้นใยแก้วเข้าไปตามบ้านได้อย่างทั่วถึงแล้วละก็ ตรงจุดนั้นเส้นใยแก้วจะได้เปรียบกว่าอย่างแน่นอน เว้นเสียแต่ว่าต้องการลักษณะพิเศษเช่นการกระจาย ( broadcast) เช่นทีวีซึ่งจะทำได้ยากถ้าหากเป็นเส้นใยแก้ว
ประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัท ยูอาร์ซีเอ ซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา
                จานรับสัญญาณดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นดินมีขนาดใหญ่มาก เช่น จานรับสัญญาณดาวเทียมอิเทลแซด ที่ศรีราชามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 97 ฟุต สามารถสื่อสารข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
                  ใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย ทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟ
                  ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งผิดจากดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลก โดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ 9-11 วัน
                  ดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วัน พอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้องเหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร
                บริษัทชั้นนำในด้านการข่าว เช่น ซีเอ็นเอ็น จะมีดาวเทียมของตนเองทำให้สามารถส่งข่าวสารหรือรับข่าวสารได้ตลอดเวลาจากทั่วโลก ผู้รับสัญญาณโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น ต้องมีจานรับสัญญาณจึงจะรับได้ และต้องปรับทิศให้ตรงกับตำแหน่งดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมแพร่สัญญาณได้ทุกพื้นที่ในโลกจะต้องมีดาวเทียมหลายดวงรอบโลก สัญญาณจะครอบคลุมทั่วโลกได้ต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อยสามดวง
                  ในช่วงปลาย พ.ศ. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
                  ดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่ 4 , 10 และ 12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศส
                  ข้อได้เปรียบของดาวเทียมไทยคมคือ อยู่ตรงประเทศไทยทำให้จานรับสัญญาณมีขนาดเล็กลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 50 เซนติเมตร ดาวเทียมไทยคมครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย และเพื่อนบ้านไว้ ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ 15 ปี
                  การสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือมีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดิน
                  ดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร

ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมลอยอยู่เหนือประเทศ ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก
เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สายโคแอ็กเชียล,สายRG6,RG11,RG8,RG59,RG58


สายโคแอ็กเชียล,สายRG6,RG11,RG8,RG59,RG58 [No. 0]























สายโคแอ็กเชียล

               สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
               สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสาย
ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ 

รูปที่ 28 สายโคแอกเชียล
               ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น

               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสาย
สัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์
แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กเชียล
               ทั้งสายแบบบางและแบบหนา จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญ ญาณและเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบได้แก่ หัวเชื่อมสาย BNC หัวเชื่อมสายรูปตัว T หัวเชื่อมสายแบบ Barrel และตัวสิ้นสุดสัญญาณ


1. สาย RG6  สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพ ทีได้รับความนิยมนำมาใช้งานในระบบ นำสัญญาณภาพแบบต่างๆ ทั้ง TV เคเบิ้ล ดาวเทียม หรือ ระบบ Audio/Video ส่วนใหญ่ก็นิยมนำสายชนิดนี้มาใช้งาน และ สายชนิดนี้ยังนิยม นำมาใช้งานกับระบบกล้องวงจรปิด CCTV มากที่สุดอีกด้วย ซึ่งสาย RG6 ในปัจจุบันมีอยู่หลายเกรดด้วยกัน แต่สาย RG6 ที่ควรนำมาใช้งานในระบบกล้องวงจรปิดนั้นควรจะเป็นสาย RG6 ที่มีคุณภาพสูง มี Shield ป้องกันสัญญาณสูง 95% เพราะหากนำสายที่มีคุณภาพต่ำ มี Shield แค่ 60%-80% มาใช้งานอาจจะทำให้ได้คุณภาพของภาพจากกล้องวงจรปิดออกมาไม่ดี และ เมื่อใช้งานไปนานๆแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญญาณด้านสายสัญญาณภาพในภายหลังได้ สาย RG6 จะมีทั้งแบบที่เป็น Shield ทองแดง และ แบบที่เป็น Shield อลูมิเนียม ทั้งนี้ขึ้นอยู่สถานที่และต่ำแหน่งกล้องวงจรปิดที่จะใช้ในการติดตั้ง ว่าอยู่ ณ จุดใด หากเป็นจุดที่เดินสายในระยะไกลประมาณ 400-700 เมตรขึ้นไปก็ควรจะใช้สายที่เป็น Shield ทองแดง แต่ถ้าหากกล้องวงจรปิด ในจุดนั้นเดินสายไกลไม่เกิน 400 เมตร ก็ใช้สายที่เป็น Shield อะลูมิเนียมได้ สาย RG6 จะมีทั้งสีแดง และ สีขาว ซึ่งสาย สีขาวจะนิยมใช้งานภายในอาคาร เพราะสายสีขาวไม่ทนทานต่อแสงแดง สาย RG6 สีขาวส่วนใหญ่จะเป็นสายเกรดต่ำ ฉนวนหุ้มสายที่เป็นสีขาวนั้นเปื่อย-ขาดได้ง่าย ส่วนสาย RG6 ที่เป็นสีดำนั้น จะเป็นสายที่มีเกรดสูงกว่าสายสีขาว ทนทานต่อแดงได้ดี ไม่เปื่อย-ขาดง่าย ทนต่อความร้อนได้ แต่ก็จะมีราคาแพงกว่าสายสีขาว สายที่นิยมมาใช้ในระบบกล้องวงจรปิดนั้นจะใช้สายสีดำเป็น ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และ ทนทานมากกว่าสาย RG6 สีขาว

2. สาย RG59  สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพเหมือนกันกับสาย RG6 แต่สาย RG59 จะมีขนาดที่เล็กกว่าสาย RG6 และมีความยืดยุ่นสูงกว่า เพราะสายเส้นเล็กกว่า แต่สาย RG59 จะนำสัญญาณภาพได้ในระยะที่สั้นกว่าสาย กว่าคือสาย RG59 นำสัญญาณภาพได้ไกลไม่เกิน 200 เมตร เพราะสาย RG59 มีการลดทอนของสัญญาณภาพมากที่สุด เพราะสายมีขนาดเล็กสุด นั่นเอง สาย RG59 จะเหมาะกับใช้งานภายในอาคาร ในลิฟท์ เพราะมีสายมีขนาดเล็กและมีความยืดยุ่นได้ดี

3. สาย RG11 สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 1000 เมตร เพราะตัวสายมีขนาดใหญ่กว่าสาย RG6 และ RG59 อยู่มาก จึงมีแกนกลางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ จึงนำสัญญาณได้ดี เหมาะกับใช้งานที่ต้องการเดินสายกล้องวงจรปิดระยะไกลๆได้ดี
สายสัญญาณภาพที่นำมาใช้กับกล้องวงจรปิด
RG59
 ใช้ในการเดินสายกล้องวงจรปิดในระยะ 0-200 เมตร
RG6
 ใช้ในการเดินสายกล้องวงจรปิดในระยะ 0-700 เมตร
RG11
 ใช้ในการเดินสายกล้องวงจรปิดในระยะ 700-1000 เมตร
    ในกรณีที่ต้องเดินสายไกลเกินกว่า 1000 เมตร ก็จะต้องใช้อุปกรณเสริมเข้ามาช่วยเพื่อให้นำสัญญาณภาพได้ไกลยิ่งขึ้น นั่นก็คือ บูตเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายสัญญาณภาพและนำสัญญาณภาพไปได้ไกลกว่าเดิม บูตรเตอร์มีอยู่รุ่นบางรุ่นนำสัญาณภาพได้ไกล 1500 เมตร บางรุ่นนำสัญญาณภาพได้ไกลเกินกว่า 2000 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความเหมาะสมตามหน้างานที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดนั้นๆ


                                            สายสัญญาณกล้องวงจรปิดRG6           สายสัญญาณกล้องวงจรปิดRG59



RG-8


RG-8 เป็น 50 โอห์มคู่สายที่ใช้สำหรับการส่งวิทยุ (เช่นในวิทยุสมัครเล่นหรือ CB) เมื่อเร็ว ๆ นี้พวกเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พวกเขาสามารถเพิ่มการเชื่อมต่อ หนึ่งในสิ่งแรกที่คนจะสังเกตได้เกี่ยวกับ RG-8 สายคือว่าพวกเขามีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับสายอื่น ๆเนื่องจากพวกเขามีสาย 50 โอห์มพวกเขาไม่สามารถที่จะใช้สำหรับชนิดของการทำงานวิดีโอใด ๆ พวกเขาจะประกอบด้วย dielectrics ศูนย์วัสดุตัวนำและแจ็คเก็ตล้อมรอบพวกเขาที่ให้การป้องกันจากอันตรายภายนอก
ถ้าคุณรู้ว่าคุณสมบัติของ RG-8 มีจุดซื้อมันไม่มี น้ำหนักของสินค้าที่ควรจะประมาณสองปอนด์และอาจขยายตราบเท่าที่ 75 ฟุต RG-8 สายเหมาะสำหรับการใช้งานในบางEthernet เครือข่าย


RG-58



RG-58 / U คือประเภทของ คู่สาย มักจะใช้สำหรับการใช้พลังงานต่ำของสัญญาณและ RF การเชื่อมต่อ สายมี ลักษณะความต้านทาน ของทั้ง 50 หรือ 52 Ω . "RG" เป็นตัวบ่งชี้หน่วยสำหรับสาย RF จำนวนมากในกองทัพสหรัฐ อิเล็กทรอนิคส์ประเภทร่วมระบบการกำหนด . มีหลายรุ่นครอบคลุมความแตกต่างในวัสดุหลัก (สายแข็งหรือถักเปีย) และโล่ (70% ถึง 95% ครอบคลุม) เป็น
เส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของ RG-58 ประมาณ 0.2 นิ้ว (5 มม. ) RG-58 น้ำหนักประมาณ 0.025 £ / ฟุต (37 g / m), การจัดแสดงนิทรรศการความจุประมาณ 25 pF / ฟุต (82 pF / m) และสามารถทนต่อสูงสุดไม่เกิน 300 V ที่มีศักยภาพ (1800 วัตต์) [1] RG-58 ธรรมดา สายมีตัวนำศูนย์ของแข็ง RG-58A / U มีความยืดหยุ่น 7 หรือ 19 ตัวนำศูนย์สาระ
มากที่สุด สองทางวิทยุ ระบบการสื่อสารเช่นทะเล วิทยุ CB , มือสมัครเล่น , ตำรวจ, ไฟไหม้, WLAN เสาอากาศ ฯลฯ ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับสายเคเบิล 50 Ω
RG-58 สายมักจะใช้เป็นผู้ให้บริการทั่วไปของสัญญาณในห้องปฏิบัติการร่วมกับ การเชื่อมต่อ BNC ที่ใช้กันทั่วไปในการทดสอบและอุปกรณ์การวัดเช่น Oscilloscope ของ .
RG-58 ในรุ่น RG-58A / U หรือ RG-58C / U ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน "ผอม" อีเธอร์เน็ต ( 10Base2 ) ที่ให้ความยาวส่วนสูงสุดของ 185 เมตร อย่างไรก็ตามมันก็ถูกแทนที่เกือบทั้งหมดโดยคู่บิดสายเช่น Cat 5 , Cat 6 และสายเคเบิลที่คล้ายกันในข้อมูลการใช้งานระบบเครือข่าย
RG-58 สายสามารถใช้สำหรับความถี่สูงปานกลาง การลดทอนสัญญาณขึ้นอยู่กับความถี่ในการเช่นจาก 0.11 dB / m ที่ 50 MHz ถึง 1.4 dB / m ที่ 2 GHz [2]